KOBRA GEN. II

21 ก.พ. 2551


KOBRA GEN. II

ผู้ผลิต : Izhevski Motozavod "Axion"
รุ่น : Kobra Gen. II
คุณสมบัติ : เรดดอท จุดเล็งสีแดง ปรับเส้นเล็งได้ 4 แบบ ปรับความสว่างได้ 16 ระดับ
ราคา : 11XXX
รูปจากในเนท

Haduni's Comment : คอบร้าตัวนี้อาจจะหาดูยากซักหน่อย เพราะเป็น GEN. II ตัวปกติที่เห็นบ่อย ๆ และตัวของก๊อปจากจีนจะเป็นตัว GEN. III ตัวนี้คนขายเค้าให้มาทั้งขาจับข้าง AK และขาจับ WEAVER ทำให้เอาไปใช้งานได้สารพัดประโยชน์ คุ้มจริง ๆ




Credit Review : ชะโดตีแปลง




สวัสดีพี่น้องชาวอาก้านะครับ

ใน คราวนี้ ผมได้รับมอบหมายให้มาทำการรีวิวอุปกรณ์ช่วยเล็ง แบบจุดแดงจากรัสเซียตัวหนึ่งที่น่าจะคุ้นหูทุกๆท่านดี ในชื่อของ Kobra นะครับ แต่สิ่งที่พิเศษและแปลกตาสำหรับเรดดอทตัวนี้ คือเป็น Kobra Gen.II ที่รูปร่างแตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งค่อนข้างหาได้ยาก เนื่องจากมีการใช้งานในกลุ่มรบพิเศษของรัสเซียเพียงไม่กี่กลุ่มครับ





สิ่ง ที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดอย่างแรกเลยก็คือขาจับ จากเดิมที่เป็นโครงเหล็กแท่งดูตันๆ เปลี่ยนมาเป็นแบบแผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ด้านข้าง มีสกรีนบอกว่าผลิตในประเทศรัสเซีย โดยโรงงาน Izhevski Motozavod "Axion"

แต่ นอกจากขาจับที่เปลี่ยนไป จุดที่แตกต่างจากGen.I และ Gen.III คือใน Gen.II นี้ จะใช้ถ่านลิเที่ยมกระดุมแบบ CR 3V แทนถ่านแบบ AA เนื่องจากมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการในเขตหนาวได้ดีกว่าครับ

อย่าง ที่สอง ใน Gen.II จะไม่มีฮูดยางกันแสงที่เป็นเอกลักษณ์ของ Kobra แล้ว แต่จะใช้เป็นกรอบพลาสติกเล็กๆติดเข้าไปแทน ซึ่งในเซ็ทนี้ไม่ได้มีมาด้วยครับ เลยไม่ได้ติดให้ชมกัน

อย่างที่สาม ทำการย้ายแผงปุ่มต่างๆจากด้านซ้าย ไปอยู่ที่ด้านขวาแทนครับ เนื่องจากขณะผู้ที่ถนัดขวา ทำการประทับปืนเข้ากับบ่า การใช้มือซ้ายประคองหน้าปืนไว้ แล้วใช้มือขวาปรับดอท จะสะดวกกว่าการถือปืนที่ด้ามด้วยมือขวา แล้วปรับดอทด้วยมือซ้ายครับ
แต่ ปุ่มปรับทุกอย่าง ยังคงรูปลักษณ์เช่นเดิมไว้ คือสวิตช์เปิดปิดแบบหมุน ปุ่มปรับเพิ่ม-ลดความสว่าง และปุ่มเลือกแบบจุดเล็ง ซึ่งมีสี่แบบเช่นเดิมครับ

อย่างที่สี่ เนื่องจากขาจับมีขนาดบางลง ก็เลยทำให้ตัวเรือนดอทเอง อยู่ลงมาชิดกับตัวปืนมากขึ้นครับ เพราะฉะนั้น ใน Gen.II จึงทำการยกหน้าเลนส์ให้อยู่สูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อชดเชยที่เรือนดอทเตี้ยลง ครับ



สำหรับจุดเล็ง มีความคมชัดดีในระดับที่ใช้งานได้ทั้งในที่มืดและสว่างครับ แม้จะไม่คมเท่า PK-A และ PK-AS ก็ตาม
ส่วนหน้าเลนส์ ทำการฉาบด้วย Gold Iridium เช่นเดียวกับเลนส์ทั่วๆไป เช่น แว่นกันสะเก็ดยี่ห้อต่างๆ



การเล็ง จะสูงขึ้นกว่าการเล็งศูนย์เปิดเล็กน้อย แต่ก็ยังสามารถแนบแก้มเข้ากับพานท้ายเวลาเล็งได้อยู่



ใน ตอนแรกเห็นขาจับดอทรุ่นนี้ ผมเกิดความรู้สึกที่ว่า มันไม่น่าจะแข็งแรงเท่าขาจับที่เป็นเหล็กแท่งตันๆเหมือน Gen.I แต่เมื่อได้สำรวจชิ้นงาน และพินิจพิเคราะห์ดูแล้ว ขารุ่นนี้แข็งแรงไม่น้อยไปกว่ารุ่นก่อนหน้าเลยทีเดียว



ปล. ดอท Kobra ที่เราเห็นๆคุ้นตากันดี จะเป็น Kobra Gen.1 และ Gen.1M ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงครับ แต่ผู้ใช้โดยทั่วไป มักจะเรียก Gen.1M ว่า Gen.3 เนื่องจากรหัสรุ่นของตัวนี้ในภาษารัสเซีย มีเลข 3 เพิ่มขึ้นมาครับ และช่วงเวลาที่ผลิตออกมา เป็นช่วงที่ไล่เลี่ย หรืออาจจะออกมาทีหลัง Gen.2
ทั้ง หมดนี้ คนก็เลยนิยมที่จะเรียก Gen.1M ว่า Gen.3 แต่ในความเป็นจริงแล้ว Gen.1M หรือ Gen.3 เป็นเพียงรุ่นปรับปรุงของ Gen.1 ครับ ถ้าจะวัดกันด้วยระดับเทคโนโลยีของตัวดอทเอง ผมว่า Gen.2 นี้ น่าจะเป็นรุ่นที่เป็นตัวท็อปในตระกูล Kobra ครับ



มาถึงความ พิเศษของ Gen.II คือการสับเปลี่ยนแบบขาจับดอทได้ครับ ถ้าดูจากรุ่นก่อนหน้า แผงปุ่มปรับต่างๆจะอยู่ด้านซ้าย และอยู่บนส่วนของโครงขาจับครับ ทำให้ Gen.I และ Gen.III ตัวดอทและขาจับจะไม่สามารถใช้งานโดยแยกออกจากกันได้

แต่ใน Gen.II นี้ ปุ่มปรับย้ายเข้ามาอยู่ในเรือนดอทฝั่งขวา และขาจับดอททำการยึดกับเรือนดอทไว้ด้วยน๊อตสี่ตัว จึงสามารถทำการสับเปลี่ยนเป็นขาจับแบบ Weaver สำหรับรางพิคาทินี่ 20มม.ได้ครับ

ผมจึงลองทดสอบเปลี่ยนใส่ขา Weaver แล้วนำมาติดบนรางเบลารุส แต่ก็พบว่าตัวดอท จะอยู่สูงมากเกินกว่าจะใช้งานได้ถนัดครับ



ก็ เลยนำมาทดสอบติดเข้ากับ M16 แทน เมื่อพิจารณาดูจากรูปลักษณ์แล้ว พบว่าสวยงาม เข้ากันดีมากๆครับ เมื่อประทับเล็ง ตัวเลนส์และจุดเล็ง ก็อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถแนบแก้มเข้ากับพานท้ายแล้วเล็งได้โดยไม่ลำบากเลยครับ ผิดกับตอนก่อนทดสอบที่คิดไปเองว่าดอทน่าจะอยู่ต่ำไป ยิงฟันยิ้ม



ขา จับแบบ Weaver เมื่อตั้งความแน่นให้ดีๆ และทดลองฝึกติดตั้งให้เกิดความคุ้นเคยกับมุมที่จะวางดอทเข้ากับราง ก็สามารถทำการเป็นขาจับแบบปลดเร็วได้ไม่เลวเลยเหมือนกันครับ



อีกด้านนี่จะเป็นน๊อตที่ใช้ปรับความแน่นในการยึดรางครับ



ทิ้งท้ายด้วยภาพรวมอุปกรณ์ที่ใช้ในการรีวิวครับ







Credit Review : ชะโดตีแปลง
Red Dot Scope Review

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น